หมูจะอยู่อย่างไร? ในยุคโลกป่วน (Disruption) โดย อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย

หมูจะอยู่อย่างไร? ในยุคโลกป่วน (Disruption)

โดย อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย 11.00-12.30 น. วันอังคารที่ 4 ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค

วัตถุประสงค์จะเป็นเรื่องที่เปิดมุมมองการเร่งปรับตัวของผู้เลี้ยงสุกร เพื่อให้ผู้เลี้ยงทุกขนาดอยู่ในอาชีพได้ โดย อ.ธันยวัชร์ จะฉายภาพความจริงของยุคโลกป่วนในธุรกิจอื่นๆ แล้วโยงเข้ามาอุตสาหกรรมสุกร

สภาพที่เกิดขึ้นในธุรกิจสุกรที่มีภาพการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว และเริ่มมากขึ้นจนรายเล็กรายกลางอยู่ยากขึ้น ถ้าไม่มีการปรับตัว หรือรวมตัวไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม

  1. การต่อยอดในแนวราบ Horizontal Diversification หรือชื่อที่เรียกกลุ่มนี้กันว่า“กลุ่มเกษตรครบวงจร”ที่มีการขยายธุรกิจไปทั้งต้นน้ำ ปลายน้ำ ประกอบไปด้วย
    1. โรงงานอาหารสัตว์ ทั้งใช้เองและจำหน่ายในธุรกิจอาหารสัตว์ โดยหลักๆ จะมี อาหารสุกร อาหารไก่
    2. ธุรกิจเวชภัณฑ์ยาสัตว์ วัคซีน ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ สารเสริมอาหารต่างๆ แทนการจัดหาจากบริษัทเวชภัณฑ์ทั่วไป
    3. การขยายตัวสู่ธุรกิจโรงเฉือด โรงชำแหละ จำหน่ายส่ง จำหน่ายปลีกเนื้อสุกร โดยขยายธุรกิจสู่การสร้าง Meat Shop หรือ Pork shop กระจายไปทั่ว เช่น CP Fresh Mart ทั่วประเทศ , Betagro Shop ทั่วประเทศ , VC Meat Shop วีระชัยฟาร์ม ราชบุรี ที่กำลังขยายไปทั่วประเทศ, V&P Fresh Foods ของ VPF Farm ที่เริ่มจากเชียงใหม่ ขยายตลาดไปทั่วประเทศ ทั้งหมดถือเป็นตัวอย่างที่ดีทางธุรกิจ
    4. โรงงานแปรรูปธุรกิจอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรต่างๆ เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูยอ กุนเชียง ฯลฯ
    5. การต่อยอดธุรกิจ Food Service เช่น Fast foods เชสเตอร์กริลล์ ของซีพีเอฟ ร้านอาหารญี่ปุ่นโอโตยะ( OOTOYA)  ที่เริ่มต้นโดยก่อตั้ง บริษัท เบทาโกร โอโตยะ (ไทยแลนด์) จำกัด ร้านข้าวขาหมูยูนนาน ส.ขอนแก่น ฯลฯ ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในการขยายธุรกิจ
    6. แรงกดดันจากผู้มีอำนาจเหนือตลาดทางพฤติกรรม และจำนวนสาขาที่มากขึ้น ของห้างค้าปลีก ที่สร้างกดดันตลาดสุกรขุน ด้วยราคาเนื้อหมูชำแหละที่ถูกกว่าตลาดสดเป็นรายวัน โดยเป็นผู้กำหนดราคาส่งที่รับจากผู้ค้าส่ง
  2. ไม่มีกฎหมายควบคุมการขยายตัวของรายใหญ่ ทำให้รายกลาง รายเล็กเริ่มอยู่ยากจาก
    1. เลี้ยงและขายสุกรขุนอย่างเดียว ที่จะต้องถูกแรงกดดันจาก ทั้งพ่อค้าคนกลาง และผลกระทบจากการตั้งราคารับซื้อจากห้างค้าปลีก ทำให้นับวันมาร์จิ้นแทบไม่มี และบางช่วงติดลบยาวนาน  การประกอบการลักษณะนี้นับวันอยู่ยากยิ่งขึ้น
    2. พฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มชินกับเนื้อสุกรแช่แข็ง ทำให้เนื้อสุกรตลาดสด ตลาดนัด เริ่มขายไม่คล่อง ในขณะที่ หมูอนามัย จากกลุ่มเกษตรครบวงจร ก็จะมีวางไปตามตลาดสด เช่นกัน

ขอเรียนเชิญสมาชิกทุกท่าน นักวิชาการ สัตวแพทย์ สื่อมวลชน และท่านผู้สนใจเข้าร่วมปลุกพลังความคิดกลยุทธ์การตลาดโดย อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย วันอังคารที่ 4 ธันวาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 11.00-12.30 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร

Visitors: 396,630