จุดสำคัญในการปรับปรุงอายุการใช้งานและผลผลิตตลอดชั่วอายุของแม่สุกร โดย คุณสงวน จันทิมา ฝ่ายวิชาการ บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด

จุดสำคัญในการปรับปรุงอายุการใช้งานและผลผลิตตลอดชั่วอายุของแม่สุกร

โดย คุณสงวน จันทิมา ฝ่ายวิชาการ บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด


          การปรับปรุงอายุการใช้งานของแม่สุกรมีความสำคัญมากในการผลิตสุกร โดยส่งผลต่อต้นทุน และประสิทธิภาพการผลิต และมีความสัมพันธ์กับการให้ผลผลิตตลอดชั่วชีวิตของแม่สุกร อายุการใช้งานที่สั้นส่งผลให้มีการทดแทนสุกรสาวเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพการผลิตและผลกำไรลดลง ผู้เลี้ยงต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อสุกรทดแทนซึ่งมีราคาสูงทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย หากแม่สุกรถูกคัดทิ้งอยู่ที่ 3.1-4.6 ท้อง และถูกคัดทิ้งในลำดับท้องที่ 1 ประมาณ 15-20 เปอร์เซ็นต์ โดยสามารถแยกเป็นสาเหตุการคัดทิ้ง เช่น การคัดทิ้งเมื่อสุกรอายุมากขึ้นหรือให้ผลผลิตต่ำ สาเหตุจากระบบสืบพันธุ์ล้มเหลว ขาอ่อนแอ หรือ ความอ่อนแอของกีบและขา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแม่สุกรที่อายุน้อยและถูกคัดทิ้งในลำดับท้องที่ 1-3

ความหมายของอายุการใช้งานของแม่สุกร

          อายุการใช้งานของแม่สุกรหรือเรียกอีกอย่างว่าระยะเวลาการให้ผลผลิตตลอดช่วงอายุ เป็นจำนวนวันที่เริ่มต้นอาจเป็นวันเกิดหรือวันที่ผสมครั้งแรกจนกระทั่งถึงวันคัดทิ้งของแม่สุกร นอกจากนี้อายุการใช้งานของแม่สุกรยังรวมถึงลักษณะที่เกี่ยวข้องทางอ้อมที่ถูกใช้เป็นตัววัดอายุการใช้งาน โดยลักษณะดังกล่าวสามารถวัดหรือบันทึก ข้อมูลได้ในช่วงก่อนสุกรเข้าทดแทนในฝูง เช่น ความอ่อนแอของกีบและขา ซึ่งเป็นสาเหตุการบาดเจ็บและถูกคัดทิ้งในที่สุดและมีความสัมพันธ์กับอายุการใช้งานของแม่สุกร

สาเหตุการคัดทิ้งของแม่สุกรและส่งผลต่ออายุการใช้งานของแม่สุกร

          การคัดทิ้งแม่สุกรโดยปกติในอุตสาหกรรมการผลิตสุกร 40-50 เปอร์เซ็นต์ จะถูกคัดทิ้งก่อนถึงลำดับท้องที่ 3 และ ที่ 4 แสดงให้เห็นว่าสุกรคัดทิ้งออกจากฝูงที่อายุน้อย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่แม่สุกรจะถูกคัดทิ้งเนื่องจากระบบสืบพันธุ์ล้มเหลว ปัญหากีบและขา เช่น มีจำนวนลูกมีชีวิตตลอดช่วงชีวิตต่ำ และแม่สุกรที่คัดทิ้งอายุน้อยจะมีอัตราการเกิดปัญหาระบบสืบพันธุ์มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแม่สุกรที่คัดทิ้งอายุมากกว่า

          การคัดทิ้งสุกรที่มีอายุมากและให้ผลผลิตต่ำในการผลิตสุกรถือว่าเป็นเรื่องปกติ หรือเรียกว่าการคัดทิ้งเป็นไปตามแผน ส่วนการคัดทิ้งแม่สุกรที่ไม่ได้มีการวางแผนไว้ เป็นแม่สุกรที่คัดทิ้งจากสาเหตุระบบสืบพันธุ์ล้มเหลว ขาเจ็บและตาย และสาเหตุอื่นๆ ซึ่งในฟาร์มสุกรส่วนใหญ่จะประสบปัญหานี้ ซึ่งมีการ ซึ่งมีการคัดทิ้งแม่สุกรจากสาเหตุระบบสืบพันธุ์ล้มเหลว อายุมาก ให้ผลผลิตต่ำและความผิดปกติในการเคลื่อนไหว สาเหตุการคัดทิ้งเหล่านี้มีปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาระบบสืบพันธุ์และปัญหากีบและขานั้นมาจากหลายสาเหตุ เช่น สภาพแวดล้อม การจัดการ การตรวจสัดที่ถูกต้อง พันธุกรรมการจัดการสุกนสาว สุขภาพและการให้อาหารในช่วงอุ้มท้องและช่วงเลี้ยงลูก เป็นต้น ซึ่งล้วนส่งผลต่ออายุการใช้งานของแม่สุกร

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานของแม่สุกร

  1. การพัฒนาของสุกรสาว (Gilt Development)

การพัฒนาของสุกรสาวมีความสำคัญที่จะช่วยให้สุกรสามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่และเป็นจุดสำคัญที่จะเปลี่ยนเป็นแม่สุกรที่ให้ผลผลิตตลอดช่วงชีวิตที่ดี ซึ่งการพัฒนาการของสุกรสาวเป็นการเตรียมพร้อมให้แก่สุกรสาวทั้งด้าน ระบบสืบพันธุ์ น้ำหนักตัว อายุเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ทั้งหมดส่งผลต่อขนาดครอกของสุกร ประสิทธิภาพการเจริญเติบโต การคัดสุกรสาวเข้าทดแทนนอกจากจะให้ความสำคัญของประสิทธิภาพการเจริญเติบโตแล้วยังต้องคำนึงถึงลักษณะความแข็งแรงของขาและกีบอีกด้วย อายุการใช้งานของแม่สุกรกับการให้พลังงานสูง ทำให้น้ำหนักตัวของสุกรสาวเพิ่มขึ้นเร็วเกินไป ส่งผลให้สุกรสาวถูกคัดทิ้งจากสาเหตุขาและการเดินได้

  1. อายุวัยเจริญพันธุ์ (Age at Puberty) และอายุที่คลอดท้องแรก (Age at first farrowing)

อายุถึงวัยเจริญพันธุ์และอายุที่คลอดท้องแรกมีความสัมพันธ์กันกับอายุการใช้งานของแม่สุกร หากแม่สุกรถึงวัยเจริญพันธุ์และคลอดลูกท้องแรกได้เร็วก็ทำให้โอกาสที่แม่สุกรเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่อายุยังน้อยจึงส่งผลต่ออายุการใช้งานของแม่สุกรยาวนานขึ้นได้ โดยทั่วไปแล้วการผลิตสุกรต้องการให้สุกรสาวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มระยะเวลาการให้ผลผลิตตลอดช่วงอายุการใช้งาน เช่น อายุที่เหมาะสมในการผสมครั้งแรก (8-9 เดือน) น้ำหนัก (130 กก. ขึ้นไป) หรือเป็นสัดครั้งที่ 2 หรือ 3 เพื่อรอให้อวัยวะสืบพันธุ์สมบูรณ์เต็มที่ อายุสุกรสาวที่เพิ่มขึ้นมีผลกับอายุการใช้งานได้น้อยลงและเพิ่มโอกาสในการคัดทิ้ง

  1. โภชนาการ (Nutrient)

การที่แม่สุกรได้รับโภชนะที่เพียงพอต่อความต้องการในช่วงการอุ้มท้องและช่วงการเลี้ยงลุกจะช่วยส่งเสริมให้แม่สุกรมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น และส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งโภชนะในอาหารที่ไม่เพียงพอส่งผลให้เกิดอาการขาเจ็บในแม่สุกร ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งในการคัดทิ้งแม่สุกร ส่วนโปรตีน ไขมัน ร์โบไฮเดรทในอาหารยังไม่ทราบกลไกแน่ชัด แต่แร่ธาตุในอาหารมีความเกี่ยวข้องกับกระดูก แคลเซียและฟอสฟอรัสในอาหารแม่สุกรมีผลกระทบโดยตรงต่ออายุการใช้งานของแม่สุกร โดยมีความสัมพันธ์กับอาการลุกไม่ขึ้นของแม่สุกร ซึ่งหากแม่สุกรได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสไม่เพียงพอ จากการกินอาหารน้อยลง แคลเซียมและฟอสฟอรัสจะถูกสลายออกจากกระดูก โดยจะสลายออกมาจากส่วนที่เป็นกระดูกซี่โครงและกระดูกเชิงกราน ทำให้มีโอกาสที่กระดูกอ่อนแอและอาจแตกร้าวได้ ส่งผลให้แม่สุกรเกิดอาการลุกไม่ขึ้นได้ ในแม่สุกรที่มีน้ำหนักครอกหย่านมมากกว่า 60 กก. ที่ 21 วัน ควรได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่เพียงพอ

  1. ระยะเวลาในการเลี้ยงลูก (Lactation length)

แม่สุกรต้องการพลังงานเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตน้ำนมในช่วงเลี้ยงลุก หากแม่สุกรมีการสะสมไขมันหรือมีการกินได้ในช่วงเลี้ยงลูกต่ำจะส่งผลให้แม่สุกรได้รับพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงจำเป็นต้องนำพลังงานที่สุสมไว้มาใช้ เพื่อสร้างน้ำนม หากมีการสลายไขมัน และโปรตีนในร่างกายมากเกินไป อาจส่งผลต่อความสมบูรณ์พันธุ์ โดยพบว่าแม่สุกรที่สูญเสียน้ำหนักตัวมากเกินไปในช่วงเลี้ยงลูก จะมีช่วงหย่านม ถึงเป็นสัดยาวนานขึ้น สุกรที่คัดท้องส่วนใหญ่มีช่วงวันเลี้ยงลูกที่สั้นกว่าแม่สุกรที่อยู่ในฝูงปกติ โดยแม่สุกรที่เลี้ยงลูก 7 วัน หรือน้อยกว่ามีเปอร์เซ็นต์สูงที่จะกลับสัดไม่ปกติ เมื่อเทียบกับแม่สุกรที่เลี้ยงลุก 14-16 วัน ซึ่งระยะเวลาเลี้ยงลูกที่สั้นมีผลทางลบต่ออายุการใช้งานของแม่สุกร

  1. ความแข็งแรงของขาและกีบ (Feet and leg soundness)

ปัจจุบันสุกรได้รับการพัฒนาปรับปรุงพันธุกรรมให้มีประสิทธิภาพการผลิต และการสืบพันธุ์ได้ดีขึ้น อีกทั้งให้ความสำคัญของอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ความแข็งแงของขาและกีบก็เป็นลักษณะโดยอ้อมอีกอันหนึ่งที่ใช้ในการคัดเลือกปรับปรุงให้สุกรมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ปัญหาขาและกีบเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการคัดทิ้งสุกร ดังนั้นการคัดเลือกสุกรสาวทดแทนที่มีลักษณะความแข็งแรงของขา จึงมีความสำคัญ หากสุกรสาวทดแทนมีโครงสร้างขาไม่แข็งแรง อาจส่งผลต่อประสอทธิภาพการสืบพันธุ์ได้ โดยโครงสร้างขาและกับที่ไม่แข็งแรง เป็นสาเหตุการเกิดปัญหาขาเจ็บในสุกร จากการศึกษาพบว่า สุกรที่เป็นแผลที่กับมีโอกาสพบมมี่ (Mummified feluses) มากกว่าสุกรที่มีสุขภาพดีถึงสองเท่า อาการเจ็บปวดจากแปลที่กับและแผลอักเสบ อาจทำให้แม่สุกรกินอาหารลดลงส่งผลต่อคะแนนรูปร่าง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดมัมมี่ในแม่สุกร นอกจากนี้ปัญหาขาเจ็บและแผลที่กับ ก็เป็นอีกสาเหตุในการคัดทิ้งของแม่สุกรก่อนที่จะถึงลำดับท้องที่ 3 ซึ่งเป็นการคัดทิ้งสุกรที่อายุน้อย และถูกคัดทิ้งก่อนที่แม่สุกรจะให้ผลผลิตสูงสุด

ความเป็นไปได้ในการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีอายุการใช้งาน

          ในการปรับปรุงอายุการใช้งานของแม่สุกร มีรายงานการประเมินพันธุกรรมลักษณะอายุการใช้งานของแม่สุกรสามารถใช้การวิเคราะห์ด้วยไลเนียร์ โมเดล (Linear model) หรือการวิเคราะห์ด้วยเซอร์วิวัล โมเดล (survival model analysis) ซึ่งให้ความแม่นยำในการประเมินกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ในการประเมินควรจะนำข้อมูลลักษณะการให้ผลผลิตและลักษณะทางการสืบพันธุ์เข้าร่วมในการประเมินด้วย เพื่อความถูกต้องขอค่าพารามิเตอร การใช้เครื่องหมายพันธุกรรม (genetic makers) ร่วมในการคัดเลือกอายุการใช้งานของแม่สุกร โดยเฉพาะลักษณะความแข็งแรงของขา ช่วยปรับปรุงให้ความก้าวหน้าทางพันธุกรรมได้รวดเร็วและมีความแม่นยำมากขึ้นช่วยให้ได้แม่สุกรที่มีความแข็งแรงทนทาน (Robust sow) สามารถให้ผลผลิตได้ยาวนานมากขึ้น

          การเพิ่มอายุการใช้งานของแม่สุกรเป็นอากากในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกร มีหลายปัจจัยส่งผลต่อการคัดทิ้งแม่สุกร เช่น โภชนะ สภาพแวดล้อมโรงเรือน พันธุกรรม และการจัดการต่างๆ ทั้งหมดนี้ เป็นความท้าทายในการทำให้อายุการใช้งานของแม่สุกรเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงมีการนำเอาเทคโนโลยีด้านการปรับปรุงพันธุ์มาใช้ในการเพิ่มอายุการใช้งานและผลผลิตตลอดชั่วอายุของแม่สุกรมีความเป็นไปได้ และนอกจากนี้ต้องให้ความสำคัญการเลี้ยง การให้อาหารจัดการอื่นๆ เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมให้สุกรสามารถแสดงศักยภาพออกมาให้มากที่สุด กุญแจสำคัญในการปรับปรุงอายุการใช้งานและผลผลิตของแม่สุกรให้ยาวนานขึ้น คือการปรับปรุงพันธุกรรมสุกร และการจัดการสภาพแวดล้อมควบคู่กันไป การจัดการสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้คือ การให้ความสำคัญทางด้านโภชนะ สุกรสาวควรได้รับแคลเซียม และฟอสฟอรัสให้เพียงพอ สภาพแวดล้อมโรงเรือนการเลี้ยงดุ และการจัดการต่างๆ เช่นการเตรียมความพร้อมให้แก่สุกรสาวทั้งทางด้านระบบสืบพันธุ์ น้ำหนักตัว อายุเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ การคัดเลือกสุกรสาวทดแทนที่มีโครงสร้างขา และกีบแข็งแรง ที่จะส่งเสริมการปรับปรุงอายุการใช้งาน แลผลผลิตตลอดชั่วอายุแม่สุกรได้ยาวนานขึ้น

เอกสารอ้างอิง

สรรพสิทธิ แปลงแก้ว และมนต์ชัย ดวงจินดา. 2558 วารสารการเกษตร 3:367-378

Boyle, L., Leonard, F.C., Lynch, B., and Brophy, P. 1998. Sow culling patterns and sow welfare. Lrish Veterinary Journal incorporating lrish Veterinary Times. 51:354-357.

Lopez-Serrano, M., Reinsch, N., Looft, H., and kalm, E, 2000 Genetic correlations of growth back-fat thickness and exterior with stability in large white and landrace sows. Livestock Production Science. 64:121-131.

Lucia, T., Dial, jr.,G.D., and Marsh, W.E. 2000. Lifetime reproductive and financial performance of femaleswine. Journal of the American Veterinary Medical Association. 216:1802-1809

 

 

 

Visitors: 395,805