ทำไมสมาคมหมูจึงต้องจี้ปศุสัตว์ให้ยื่น OIE เปิดช่องรับรองการค้าเนื้อหมูจากไทยและอาเซียน

ทำไมสมาคมหมูจึงต้องจี้ปศุสัตว์ให้ยื่น OIE เปิดช่องรับรองการค้าเนื้อหมูจากไทยและอาเซียน


หลายคนอาจยังมองไม่ออกว่า...ถูกเวลาหรือ? ที่ผู้เลี้ยงสุกรไทยจะต้องจี้กรมปศุสัตว์ให้ยื่น OIE เปิดช่องมาตรฐานให้ไทยและอาเซียนเข้าถึงการค้าเนื้อสุกรระหว่างประเทศ

โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease) หรือที่เรียกกันโดยย่อว่าโรค  “เอฟเอ็มดี” (FMD) เป็นโรคระบาดที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันได้ง่ายและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในสัตว์กีบที่มีเชื้อไวรัสติดต่อโรค FMD ได้แก่ โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ช้าง อูฐ และกวาง เป็นต้น โรค FMD ทำให้ผลผลิตสูญเสียอย่าง รุนแรงและยังทำให้ประเทศสูญเสียรายได้จากการสงออกเพราะสัตว์มีชีวิต ซากสัตว์เนื้อสัตว์ หรือ ผลิตภัณฑ์ จากเนื้อสัตว์ของประเทศที่ยังมีโรค FMD ระบาดอยู่จะไมเป็นที่ยอมรับสำหรับการค้าระหว่างประเทศ

ถ้าดูจากสถานการณ์เป็นพื้นที่ทั้งโลกจะเห็นว่าพื้นที่ทวีปอาฟริกาและทวีปเอเชียยังเป็นพื้นที่หลักที่ยังเป็นไม่ได้รับการรับรองการปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยแต่อย่างใด

ที่ผ่านมารัฐบาลไทยและรัฐบาลในกลุ่มประเทศเอเชียมีความพยายามสร้างมาตรฐานตลอดห่วงโซ่การผลิตเนื้อสัตว์อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการผลิตเนื้อสุกรที่เป็นอาหารโปรตีนหลักของทั้งประชากรเอเชียและประชากรโลก ตั้งแต่การประกาศใช้กฎหมายด้านสุขภาพสัตว์และสวัสดิภาพสัตว์ กฎหมายมาตรฐานฟาร์มที่มีท่าทีกำลังผลักดันในเป็นภาคบังคับ กฎหมายการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่าย กฎหมายด้านอาหารปลอดภัย จนกระทั่งกฎหมายควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะที่ป้องกันการดื้อยาที่จะกระทบต่อสุขภาพของประชากร เช่น

  • ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรของประเทศไทย พ.ศ.2542
  • พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
  • พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
  • พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์ เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559
  • นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ยังมีกฎหมายรองที่ยังอยู่ระหว่างพิจารณาในเรื่องควบคุมการใช้ยาสัตว์ที่เกี่ยวโยงกับการดื้อยา ที่เป็นอีกกระแสหนึ่งที่ OIE เข้ามาดูแลด้วย

ซึ่งกฎหมายที่โยงกับเรื่องเชื้อดื้อยาถือว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายด้านปศุสัตว์ที่ล้ำหน้ากว่าในหลายประเทศพัฒนา ซึ่งจะทำให้มาตรฐานด้านปศุสัตว์ของไทยมีการต่อยอดในระดับนานาชาติอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ(OIE) มีมาตรการด้านมาตรฐานและสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อดูแลด้านนี้เช่นกัน ดังนั้นจึงเห็นว่าเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ถึงเวลาแล้วที่องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศจำต้องนำมาตรการเหล่านี้มาใช้เป็นอีกช่องทางหนึ่งเพื่อให้ผู้เลี้ยงสุกรในประเทศกำลังพัฒนาได้มีสิทธิในการเข้าถึงการค้าเนื้อสุกรระหว่างประเทศมากขึ้น นอกเหนือจากการถูกข้อจำกัดว่าเป็นพื้นที่โรคระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยมาเป็นเวลานับค่อนศตวรรษ ซึ่งถ้ามีการพิจารณาประเด็นมาตรฐานต่างๆ จะจูงใจให้มีการสร้างมาตรฐานแบบบูรณาการกับผู้ค้าเนื้อวัวอีกหลายประเทศในทวีปอาฟริกา ซึ่งสุดท้ายจะสร้างโอกาสและการแบ่งปันทางเศรษฐกิจซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมทั้งโลก

กรมปศุสัตว์มีแผนการทำเขตปลอดโรคอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2550 ได้งบประมาณปี 2552 และยื่นขอการรับรองพื้นที่ปลอดโลกปากและเท้าเปื่อยในเขต 2 ภาคตะวันออกเมื่อสิงหาคม 2555 จะครบ 5 ปีในปีนี้ ตั้งแต่ยื่นครั้งนี้เปลี่ยนอธิบดีไป 3 คนแล้ว ไม่แปลกที่จะทำตามข้อเรียกร้องเปิดช่องด้านมาตรฐาน หวังว่าในการประชุม OIE ที่ปกติจะจัดประชุมทุกปีที่ฝรั่งเศสในช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้น่าจะมีวาระนี้เข้าที่ประชุม

 

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

13 มีนาคม 2560

Visitors: 395,743