หมอโจ้ชี้ “โลกต้องเดินหน้าไปด้วยกัน” กับแนวคิดให้ OIE เปิดช่องมาตรฐานเพื่อการค้าเนื้อสุกรจากอาเซียน

หมอโจ้ชี้  “โลกต้องเดินหน้าไปด้วยกัน” กับแนวคิดให้ OIE เปิดช่องมาตรฐานเพื่อการค้าเนื้อสุกรจากอาเซียน

10 มีนาคม 2560 วงการสุกรไทยได้เวลาเดินหน้าเพื่อให้องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ หรือ OIE เปิดช่องหลังการรอการรับรองพื้นที่ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยทั้งภูมิภาคเป็นอุปสรรคที่ควรหาทางออก

นายสัตวแพทย์สุทัศน์ ตั้งธโนปจัย รองเลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ในฐานะประธานจัดสัมมนาหัวข้อ “ASEAN Pork Trading Revolution for International Trade” ในงาน VIV Asia 2017 ครั้งที่ 13 ที่จะจัดขึ้นระหว่าง 15-17 มีนาคม 2560 ที่ BITEC โดยการสัมมนามีในวันที่ 15 มีนาคม 2560 เวลา 13:00-16:00 น. ณ ห้อง MR 218-219 ชั้น 2 BITEC

นายสัตวแพทย์สุทัศน์ หรือ หมอโจ้ กล่าวถึงการสัมมนาครั้งนี้จะมีวิทยากรจากกลุ่มเกษตรอุตสาหกรรมสุกรชั้นนำใน South-East Asia จำนวน 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม และกัมพูชา ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสุกรยังคงต้องหาทางออกในด้านการค้าสุกร เนื้อสุกร ผลิตภัณฑ์สุกร จนถึงการออกไปลงทุน ร่วมทุน และการไปซื้อกิจการในประเทศเป้าหมายต่างๆ เพราะประเทศในแถบนี้ยังคงเผชิญกับปัญหาการเป็นพื้นที่ระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยมาอย่างยาวนาน สร้างปัญหาข้อจำกัดทางการตลาดเป็นอย่างมาก ทำให้ซัพพลายที่ดันออกต่างประเทศยาก มากระทบกับราคาสุกรขุนภายในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับที่เผชิญภาวะราคาสุกรขุนตกต่ำในปัจจุบัน

หมอโจ้เข้าใจว่าการหาทางออกทางการค้าให้วงการสุกรในประเทศกำลังพัฒนาค่อนข้างยากแต่ก็ไม่ควรตั้งรับอย่างเดียว โดยกล่าวว่า “ปัญหาการเป็นพื้นที่ระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยที่ไม่ได้ระบาดกันตลอด เป็นปัญหาให้หลายภูมิภาคที่ OIE ควรนำแนวทางอื่นมาช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้ได้เข้าถึงการค้าเนื้อสุกรระหว่างประเทศ เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายประเทศในอาฟริกาที่ยังมีปัญหาด้านเศรษฐกิจโดยรวมก็ต้องการให้ OIE เปิดช่องให้สามารถเข้าถึงการค้าเนื้อวัว เช่นกัน”

นายสัตวแพทย์สุทัศน์ ตั้งธโนปจัย มีฟาร์มสุกรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และยังเริ่มดำเนินธุรกิจบริษัทเวชภัณฑ์ปศุสัตว์ในนามบริษัท เวทมอร์ แอนมัล เฮลธ์ จำกัด โดยมีประสบการณ์ในวงการมาอย่างยาวนาน ถือว่าเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่จะร่วมกันพัฒนาวงการสุกรของประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมเกษตรหลักของประเทศในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้าง Supply Chain ไปสู่เกษตรอาหารสัตว์อื่นๆ และกลุ่มอาหารต่อไป

Visitors: 395,753