ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ควรเลือกใช้วัคซีนป้องกัน โรคเซอร์โคไวรัส (PCV2) อย่างไร

ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ควรเลือกใช้วัคซีนป้องกัน

โรคเซอร์โคไวรัส (PCV2) อย่างไร

น.สพ.ทศวรรษ  อัครพิศาลสกุล

Technical Advisor,

Boehringerlngelheim (Thai) Ltd.

 

        แม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีการเลี้ยงสุกรในบ้านเราจะพัฒนาไปค่อนข้างมาก ทั้งด้านประสิทธิภาพการผลิต ระบบการจัดการดูแลสุขภาพสุกร รวมถึงมาตรฐานในการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ภายในฟาร์ม แต่ยังคงพบปัญหาโรคระบาดวนเวียนในหลายพื้นที่ ซึ่งหนึ่งในโรคที่ยังคงมีความสำคัญอย่างยิ่งคงหนีไม่พ้นโรคเซอร์โคไวรัส (PVC2) ซึ่งก่อให้เกิด กลุ่มอาการ PMWS และหากพบปัญหาการติดเชื้อร่วมกันกับเชื้อ PRRS หรือ Mycoplasma ก็จะส่งผลให้เกิดภาวะ PRDC ตามมาได้ด้วยนอกจากนี้บางครั้งยังพบว่าในฝูงสุกรที่มีการดูแลและการจัดการที่ดี สุกรอาจจะไม่แสดงอาการป่วยอย่างเด่นชัดแต่ยังคงส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพโดยรวมของฟาร์มเช่นมีการใช้ยาปฏิชีวนะหรืออัตราการเจริญเติบโตที่ต่างไปจากมาตรฐานจึงจัดได้ว่าโรคเซอร์โคไวรัสยังเป็นปัญหาที่สำคัญในการเลี้ยงสุกรในปัจจุบัน

        ซึ่งตัวเลือกที่สำคัญในการแก้ปัญหาโรคเซอร์โคไวรัสภายในฟาร์มสุกรในบ้านเรา คือ การทำวัคซีนป้องกันโรคเซอร์โคไวรัส โดยในประเทศไทยเองมีการนำเข้าวัคซีนมาใช้เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวด้วยกันหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ซึ่งวัคซีนแต่ละชนิดเองนั้นก็มีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด วันนี้ผู้เขียนจึงขอหยิบยกผลการศึกษาของ Jiwoon Jeong และ คณะ ในปี 2015 จาก College of Veterinary Medicine, Seoul National University เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้วัคซีนป้องกันโรคเซอร์โคไวรัสให้กับฟาร์มสุกรในบ้านเรา โดยที่ Dr. Jiwoon เก็บข้อมูลจากฟาร์มสุกรขนาด 500 แม่ที่พบปัญหาจากการติดเชื้อเซอร์โคไวรัสคืออัตราการเจริญเติบโตลดลง อัตราการตายในสุกรอนุบายถึงสุกรขุนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 4-5% เป็น 10% และพบรอยโรคจากการติดเชื้อเซอร์โคไวรัสที่ต่อมน้ำเหลืองและเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้ตัดสินใจเลือกวัคซีนป้องกันโรคเซอร์โคไวรัส 3 ชนิดมาศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนที่เหมาะสมกับฟาร์มโดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 กลุ่ม จำนวนสุกรกลุ่มละ 30 ตัว เริ่มทำวัคซีนป้องกันโรคเซอร์โคไวรัสที่สุกรอายุ 3 สัปดาห์ ดังนี้

        กลุ่มที่ 1  ลูกสุกรทำวัคซีนป้องกันโรคเซอร์โคไวรัสของ บริษัท เบอริงเกอร์ฯ ปริมาณ 1 ซีซี/ตัว

        กลุ่มที่ 2  ลูกสุกรทำวัคซีนป้องกันโรคเซอร์โคไวรัส A

        กลุ่มที่ 3  ลูกสุกรทำวัคซีนปัองกันโรคเซอร์โคไวรัส B

        กลุ่มควบคุม  ลูกสุกรฉีดน้ำเกลือปริมาณ 1 ซีซี/ตัว (ไม่ได้ทำวัคซีน)

        จากนั้นทำการประเมินผลโดยการวัดอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการตาย ของสุกรตั้งแต่อายุ 3-22 สัปดาห์ (ระยะหย่านมถึงขุนขาย) โดยแสดงดังนี้

 

กราฟที่ 1 : แสดงอัตราการเจริญเติบโตของสุกรตั้งแต่ระยะหย่านมถึงขุนขาย (อายุ 3-22 สัปดาห์)

อัตราการเจริญเติบโตของสุกรอายุ 3-22 สัปดาห์ (กรัม)

 

        จากการกราฟดังกล่าวพบว่าอัตราการเจริญเติบโตของสุกรของกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้ทำวัคซีนมีค่าอยู่ที่ 626.5 กรัม ขณะที่ในสุกรกลุ่มที่ 1-3 ซึ่งได้รับวัคซีนแตกต่างชนิดกันมีอัตราการเจริญเติบโตตามลำดับดังนี้คือ 663.2, 658.9 และ 657.1 กรัม และจากข้อมูลเบื้องต้นจะสังเกตได้ว่าสุกรที่ทำวัคซีนบริษัท เบอริงเกอร์ฯ มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสุกรที่ทำวัคซีน A และ B นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับสุกรที่ไม่ได้ทำวัคซีนพบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าถึง 36.7 กรัม โดยอัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนนี้นอกจากจะบ่งบอกถึงประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยลดระยะเวลาในการเลี้ยงสุกรขุนส่งผลให้เกษตรกรสามารถจัดการเล้าสุกรขุนได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

        นอกเหนือจากอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทาง Dr.Jiwoon ยังเปรียบเทียบอัตราการตายของสุกรแต่ละกลุ่มในการทดลองด้วยเช่นกัน โดยผลที่ได้เป็นดังกราฟต่อไปนี้

กราฟที่ 2 : แสดงอัตราการตายของสุกรตั้งแต่ระยะหย่านมถึงขุนขาย (อายุ 3-22 สัปดาห์)

อัตราการตายสุกรอายุ 3-22 สัปดาห์

 

        พบว่าสุกรที่ไม่ได้รับวัคซีนมีอัตราการตายอยู่ที่ 16.7% ขณะที่สุกรซึ่งทำวัคซีนทุกกลุ่มมีอัตราการตายที่ลดลง โดยสุกรที่ทำวัคซีน บริษัท เบอริงเกอร์ฯ มีอัตราการตายลดลงอย่างเห็นได้ชัดอยู่ที่ 6.7% ขณะที่สุกรที่ทำวัคซีน A และ B ยังคงพบอัตราการตายอยู่ที่ 13.3% และเมื่อนำอัตราการตายของสุกรในแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบกัน ผลที่ได้มีความชัดเจนว่าสุกรที่ทำวัคซีนบริษัท เบอริงเกอร์ฯ มีอัตราการตายน้อยกว่าสุกรที่ไม่ได้รับวัคซีน 2.5 เท่า และเมื่อเปรียบเทียบกับสุกรที่ได้รับวัคซีน A และ B พบว่าสุกรที่ทำวัคซีนเบอริงเกอร์ฯ ยังคงมีอัตราการตายน้อยกว่าถึง 2 เท่า

        จากข้อมูลเบื้องต้นทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าการเลือกใช้วัคซีนป้องกันโรคเซอร์โคไวรัสที่มีคุณภาพดี นอกจากจะช่วยป้องกันโรคภายในฟาร์มและปรับปรุงประสิทธิภาพการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรแล้วยังส่งผลให้ธุรกิจการเลี้ยงสุกรมีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากการพิจารณาเลือกใช้วัคซีนของเกษตรกรถือเป็นต้นทุนการผลิตอย่างหนึ่งดังนั้นการเลือกใช้วัคซีนของบริษัทใดก็ควรพิจารณาอย่างรอบด้านทุกมิติและให้ผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจที่คุ้มค่าที่สุด

 

เอกสารอ้างอิง :Jiwoon J. et al., 2015, Comparison of three commercial one-dose porcine circovirus type 2 (PCV2) vaccines in a herd with concurrent circulation of PCV2b and mutant PCV2b. Veterinary Microbiology 177 (2015), 43-52

 

ที่มา : สัตว์เศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 777 (หน้า 24-26)

Visitors: 396,228