นักศึกษาหลายสถาบันการศึกษาให้ความสนใจการคัดค้าน Trans-Pacific Partnership ของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

นักศึกษาหลายสถาบันการศึกษาให้ความสนใจการคัดค้าน Trans-Pacific Partnership ของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

5 เมษายน 2559 สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ – จากการที่ผู้เลี้ยงสุกรสู้ไม่ถอยกับการคัดค้าน Trans-Pacific Partnership ทำให้นักศึกษาหลายสถาบันการศึกษาทยอยเข้าขอสัมภาษณ์และฟังข้อมูลการคัดค้าน

หลังจากนักศึกษาเศรษฐศาสตร์ ปี 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอเข้ามาสัมภาษณ์และฟังการบรรยายพิเศษของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติประเด็นการต่อต้านการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก Trans-Pacific Partnership และฟังบรรยายวิวัฒนาการของการค้าเสรีโลกตั้งแต่ยุค GATT มา WTO จนถึง RTAs ข้ามภูมิภาคของ TPP เป็นเวลา 2 ชั่วโมงเต็ม หลังจากติดตามข่าวการคัดค้าน TPP จากเว็บไซต์ของสมาคมฯ ล่าสุดนักศึกษาในระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ NIDA ได้ขอเข้ามาฟังการบรรยายพิเศษและขอสัมภาษณ์ ทีมงานวิชาการของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

ถึงแม้การเปิดเสรีทางการเกษตรของโลก ได้บรรลุข้อตกลงตั้งแต่ยุคของ GATT หรือ General Agreement on Tariffs and Trade ก่อนที่จะกลายมาเป็นองค์การการค้าโลก หรือ WTO ในปัจจุบัน

กรอบการเจรจาการค้าในกลุ่มเกษตรมักไม่รวมในการเจรจาการค้าในระดับทวิภาคีระหว่างประเทศพัฒนา กับ ประเทศกำลังพัฒนา เพราะความสามารถในการแข่งขันต่างกัน  เช่นเดียวกับการเจรจาการข้อตกลงการค้าเสรี Thai-US ที่เคยเจรจากันมี 19 กรอบการเจรจาโดยไม่มีหมวดเกษตรโดยเฉพาะปศุสัตว์ ซึ่งคาดว่าจะไม่มีการเจรจาต่อ เพราะผิดเป้าประสงค์ของสหรัฐอเมริกาและหยุดมาตั้งแต่ปี 2549  แต่เมื่อมาพิจารณาใน  Trans-Pacific Partnership มีถึง 26 กรอบการเจรจาโดยรวมสินค้าเกษตรกลุ่มปศุสัตว์ พืชอาหารสัตว์ด้วยซึ่งอันตรายกับประเทศในภาคีมากที่อุตสาหกรรมนี้จะล่มสลายเพราะสมาคมผู้เลี้ยงสุกรมีแจงสื่อหลายครั้งแล้วว่าต้นทุนต่างกันโดยสหรัฐอเมริกาอยู่ในระดับเพียง 60% ของต้นทุนสุกรมีชีวิตของไทยเท่านั้น ซึ่งเดินหน้าไปก็มีแต่จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศ เพราะกรอบการค้าเหล่านี้จะไม่สามารถแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย หลังทั้ง 12 ประเทศสมาชิกได้ลงนามเบื้องต้นที่แอตแลนตา สหรัฐอเมริกาไปตั้งแต่ 5 ตุลาคม 2558

ล่าสุดร่างหนังสือตรงถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาของนายกสมาคมฯ ซึ่งคาดว่าจะลงนามและยื่นตรงถึงรัฐมนตรีปลายสัปดาห์นี้ การยื่นครั้งนี้เป็นการอุทธรณ์ตรงถึงผู้บริหารสูงสุดของกระทรวงพาณิชย์หลังจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเพิกเฉยต่อ 4 ข้อเรียกร้องที่กลุ่ม 11 สมาคมยื่นข้อเสนอไปตั้งแต่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 โดยมีสำเนาเรียนท่านรองนายกสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ด้วยซึ่งท่านได้มีคำสั่งถึงกระทรวงพาณิชย์ให้พิจารณาถึงทุกอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบถ้าไทยเข้าร่วม Trans-Pacific Partnership เมื่อ 4 เมษายนที่ผ่านมา

ที่มา : สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

Visitors: 396,213