ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโภชนาการของแร่ธาตุอินทรีย์

ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโภชนาการของแร่ธาตุอินทรีย์

MINERAL BENEFITS BREAKTHROUGH

 

มร.สตีฟ  เอลเลียด

ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโภชนาการของแร่ธาตุอินทรีย์

วงการอุตสาหกรรมการเลี้ยงปศุสัตว์ส่วนใหญ่ให้ความสนใจการใช้แร่ธาตุใน 5 ประเด็น คือ

ความต้องการ

  • ข้อมูลของ NRC ที่ได้ตั้งแต่ปี 1958 เป็นการวิเคราะห์ภายใต้การเลี้ยงในสภาวะห้องปฏิบัติการ ซึ่งต่างกับสภาพความเป็นจริงอยู่พอสมควรและไม่ได้กำหนดปริมาณความต้องการแร่ธาตุในรูปของอนินทรีย์และรูปของอินทรีย์ แต่เราต้องทำอย่างไรเพื่อให้แร่ธาตุที่เราให้ไปถูกนำไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ในปริมาณที่น้อยที่สุด งานวิจัยมากมายได้พิสูจน์ให้เห็นว่าตั้งแต่จนถึงปัจจุบัน ปริมาณการใช้ในรูปของอนินทรีย์จะมากกว่ารูปของอินทรีย์อยู่หลายเท่าตัว

ผลกระทบจากการใช้แร่ธาตุอนินทรีย์

  • ปริมาณวิตามินเอในพรีมิกซ์ที่ผลิตโดยแร่ธาตุอนินทรีย์ลดลงกว่าร้อยละ 20 เมื่อถูกจัดเก็บไว้ 30 วัน ในขณะที่ พรีมิกซ์ที่ใช้แร่ธาตุอินทรีย์ของออลเทค (ไบโอเพล็กซ์®) ลดลงไม่ถึงร้อยละ 1 หมายถึง ประสิทธิภาพการผลิตที่ดีกว่า โดยภายรวม  แร่ธาตุ

อนินทรีย์ส่งผลกระทบต่อการทำงานของโภชนสารอื่น คิดเป็นมูลค่า 2-3 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม จึงเป็นข้อสงสัยว่า ราคาที่ถูกกว่าจะได้ต้นทุนที่ถูกกว่าจริงหรือ

  • จากงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ แร่ธาตุอนินทรีย์สามารถที่จะถูกทดแทนด้วยการใช้แร่ธาตุอินทรีย์แค่ร้อยละ 14

มลภาวะ

        เมื่อใช้แร่ธาตุอินทรีย์ซึ่งมีความต้องการน้อยกว่าร้อยละ 80 ส่งผลให้การขับทิ้งแร่ธาตุน้อยกว่าร้อยละ 60 – 80 และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การปนเปื้อน

        การปนเปื้อนของโลหะหนักในแร่ธาตุอนินทรีย์ที่ผสมในพรีมิกซ์เป็นที่ยอมรับและเกิดขึ้นบ่อยครั้งจากงานวิจัยของออลเทคทั่วโลกพบว่า ร้อยละ 20 ของตัวอย่างแร่ธาตุอนินทรีย์ในพรีมิกซ์ปนเปื้อนด้วยโลหะหนัก ทำให้ออลเทคต้องพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพ Q+ (คิวพลัส) โปรแกรม

ความแตกต่าง

        ออลเทคได้พัฒนาโปรแกรมทดแทนแร่ธาตุเบ็ดเสร็จด้วยแร่ธาตุอินทรีย์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต จากผลงานวิจัยมากมายทั้งในห้องปฏิบัติการ และสภาพฟาร์ม พิสูจน์แล้วว่า สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในส่วนของคุณภาพการผลิตและต้นทุนการผลิต

Poultry

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวเรศ  เรืองพานิช

ประโยชน์ของแร่ธาตุอินทรีย์ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกแห่งประเทศไทย

  • แร่ธาตุอนินทรีย์ที่เราใช้นั้น ส่วนมากอยู่ในรูปของเกลือซึ่งจะแตกตัวเร็ว ทำให้ร่างกายต้องดูดซึมอย่างรวดเร็ว ซึ่งในขบวนการย่อยจริงๆ แล้ว บางส่วนจะถูกดูดซึมไม่ทัน และถูกขับถ่ายออกไป
  • การทดลองแร่ธาตุในไก่ไข่โดยศึกษาจากโครงสร้างกระดูกทำให้เราเรียนรู้ว่า กระดูกเป็นธนาคารแคลเซียมสูงถึงร้อยละ 30 – 40 ของปริมาณที่พบในเปลือกไข่ แต่การใช้แคลเซียมจะได้ผลต้องมีไบคาร์บอเนตเป็นองค์ร่วม เพราะฉะนั้นหากอากาศร้อนแล้วไก่มีอาการหอบ ก็จะส่งผลให้ไบคาร์บอเนตในกระแสเลือดลดลง และส่งผลกระทบต่อการดูดซึมของแคลเซียมทำให้คุณภาพเปลือกไข่ด้อยลง
  • งานทดลองด้านการเปรียบเทียบแร่ธาตุอินทรีย์และแร่ธาตุอนินทรีย์นั้น พบว่า สามารถลดปริมาณการใช้แร่ธาตุได้กว่าร้อยละ 70 ส่งผลให้การขับทิ้งของแร่ธาตุที่ร่างกายดูดซึมไม่ได้ลดลงอย่างชัดเจนระบบภูมิคุ้มกัน (lgG) เพิ่มขึ้น และส่งผลให้อัตราการตายลดลงอย่างเป็นนัยสำคัญ

ดร.ซานดิเอโก  รามิเรซ

การใช้แร่ธาตุอินทรีย์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในสัตว์ไก่

  • มีการรวบรวมข้อมูลความต้องการของโปรตีน วิตามิน พลังงาน และแร่ธาตุ สำหรับไก่กระทง ไก่สาว และไก่ไข่ จากคู่มือการเลี้ยงของบริษัทไก่พันธุ์ พบว่า ความต้องการของโปรตีนและวิตามินสำหรับไก่ 3 ชนิดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือเมื่ออายุน้อยมีความต้องการน้อย เมื่ออายุมากมีความต้องการมาก ส่วนพลังงาน กลุ่มของไก่กระทงจะมีความต้องการสวนทางกับไก่สาวและไก่ไข่ ที่น่าสนใจคือ กลุ่มแร่ธาตุ ไก่ทั้ง 3 ชนิด มีความต้องการที่คงเส้นคงวา แต่ทั้งนี้แล้วแต่สายพันธุ์ที่แต่ละบริษัทกำหนด ซึ่งยังไม่มีงานวิจัยรองรับ
  • การได้ซึ่งแร่ธาตุทองแดงโดยผ่านรูปของอนินทรีย์เช่น จุลสี (ค๊อปเปอร์ ซัลเฟต) เป็นสารมีพิษเพราะมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อรา ถ้าใช้ปริมาณมากจะมีผลต่อเยื่อบุของกระเพาะบดในไก่ และมีผลกระทบต่อการทำงานของแร่ธาตุชนิดอื่นในร่างกาย
  • แร่ธาตุอินทรีย์มีส่วนช่วยขบวนการผลิตไก่ปลอดยาปฏิชีวนะ เพราะอยู่ในรูปของโปรตีนที่สร้างความระคายเคืองต่อวิลไลน้อยกว่า ทำให้สภาพวิลไลดีขึ้น การดูดซึมมากขึ้น สัตว์จึงมีสุขภาพที่แข็งแรง
  • เมื่อสัตว์ป่วย ขีดความสามารถในการดูดซึมอาหารจะลดลง แร่ธาตุอนินทรีย์ซึ่งแตกตัวเร็วจะไม่สามารถถูกดูดซึมได้อย่างทันท่วงที เพิ่มอัตราส่วนการสูญเสียแร่ธาตุ

Dairy

รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยณรงค์  นาวานุเคราะห์

อุตสาหกรรมโคนมไทย – ความท้าทายและโอกาส

        อุตสาหกรรมนมไทยในอนาคตมีความต้องการภายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากประชากรเพิ่มขึ้น และรายได้เพิ่มขึ้น

        ความท้าทายในการผลิตนมจะให้ความสำคัญในเรื่องมาตรฐานการรับซื้อนมและคุณภาพของน้ำนมมากขึ้น โอกาสของอุตสาหกรรมนมไทย ได้แก่

        1.  การส่งออกผลิตภัณฑ์นมสู่อาเซียนมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น

        2.  การจัดการฟาร์มโคนมที่เข้มงวดและได้มาตรฐานมากขึ้น

        3.  การสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมการดื่มนมโรงเรียนเพิ่มขึ้น

 

มร. แจ๊ค  คอร์เลส

ประโยชน์ของแร่ธาตุที่เหมาะสมในอาหารแม่โคนม

ประโยชน์ของการเสริมแร่ธาตุอินทรีย์รองให้แก่โคนมเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์พันธุ์ของแม่โคนมจะพิจารณาได้จาก 2 ระยะของการให้นมของแม่โคนม

  1. ช่วงระยะแม่โคแห้งนม (60 วันก่อนคลอด และ 20 วันก่อนคลอดลูก) ให้ความสำคัญในเรื่อง

        1.1  คะแนนความสมบูรณ์ของร่างกายแม่โคที่เหมาะสม เท่ากับ 3.5 สุขภาพสมบูรณ์

              ของกระเพาะหมัก และภูมิคุ้มกันของแม่โคนมก่อนคลอด

        1.2  เพื่อลดการเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับอาหารภายหลังคลอด การเกิดคีโดซีส สภาวะ

              ขาดพลังงาน ระดับแคลเซียมต่ำในเลือด รกค้าง เต้านมอักเสบ มดลูกอักเสบ และ

              อื่นๆ

        1.3  เพิ่มปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้งภายหลังคลอด

        1.4  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำนม อัตราการผสมติดและอัตราการตั้งท้องที่สูง

              ขึ้น

  1. ช่วงระยะแรกของการให้นมภายหลังคลอด จะให้ความสำคัญในเรื่องความสมบูรณ์พันธุ์เป็นหลัก

        2.1  อัตราการตั้งท้องที่เหมาะสม เพื่อที่ได้มีการให้ลูกทุกปี และวันที่ให้นมที่เหมาะสม

              180 วัน หลังคลอด

        2.2  อัตราการตั้งท้องจะพิจารณาเรื่อง คนตรวจสัดและการจับสัดเป็นหลัก โดยให้มีการ

                      ผสมติดที่สูงในช่วงการเป็นสัดและผสมติดภายใน 85 – 90 วันภายหลังคลอด โดย

              จะมีผลให้อัตราการตั้งท้องที่สูงขึ้น

        2.3  อัตราการผสมติดที่สูงขึ้น จะมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตน้ำนมสูงขึ้นตามไป

              ด้วย

        2.4  สภาพแวดล้อมมีผลต่อการกินได้ของวัตถุแห้งที่เพิ่มขึ้น การให้อาหารและคุณค่า

              ทางอาหารให้แก่ แม่โคนมในระยะต่างๆ ในช่วงที่ให้นม พร้อมทั้งการจัดการของ

              คนที่ตรวจสัดและจับสัดเพื่อเพิ่มอัตราการตั้งท้องในช่วงระยะผสมที่ครั้งแรกที่ 60

              วันหลังคลอด เพื่อจะได้การตกลูกทุกปี (365 วัน)

        2.5  ความสมบูรณ์พันธุ์จะมีผลโดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิตน้ำนมของแม่โคนม

SWINE

ดร.วอลเลซ  เฮนรี่

การใช้แร่ธาตุอินทรีย์ในสุกรยุคปัจจุบัน และความเข้าใจที่ถูกต้อง

  • ปัญหาที่เผชิญอยู่คือ การเลี้ยงสุกรสายพันธุ์ปัจจุบันโดยค่ามาตรฐานที่ไม่ได้รับการแก้ไขมานานแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับ 30 ปีที่แล้ว ณ อายุที่ 159 วัน สุกรจับที่ 92 กิโลกรัม แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 108 กิโลกรัม ผู้เลี้ยงจึงต้องปรับเปลี่ยนปริมาณสารอาหารให้มีปริมาณที่มากจนเกินพอในบางครั้ง และก่อปัญหากับสภาพแวดล้อม เช่นไนโตรเจนที่มากเกินไปก่อให้เกิดฝนกรด ทำลายป่าไม้ ทำให้พื้นที่ทะเลทรายเพิ่มขึ้น ฟอสฟอรัสที่มากเกินไป ก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำผ่านปริมาณสาหร่ายที่มากขึ้น ทำให้สภาวะความสมดุลในทะเลสาบเสียไป
  • มีการพยายามใช้ไฟเตสเพื่อลดปริมาณการใช้ฟอสฟอรัสหรืออีกแง่หนึ่ง ทำให้การใช้ฟอสฟอรัสมีประสิทธิภาพมากขึ้น งานวิจัยได้พิสูจน์เห็นว่า ไม่ว่ามีไฟเตสหรือไม่ปริมาณฟอสฟอรัสที่มากขึ้น ย่อมทำให้อัตราการเจริญเติบโตต่อวันสูงขึ้นด้วย เพราะมีผลต่อการพัฒนาต่อเนื้อเยื่ออ่อน แต่ทั้งนี้ต้องควบคู่กับปริมาณแคลเซียมให้มีสัดส่วนที่พอเหมาะ งานวิจัยแสดงถึงค่าเหมาะสมของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสคือ 2.5:1 และมีปริมาณการขับออกของฟอสฟอรัสผ่านปัสสาวะต่อวันอยู่ที่ 3.71 กรัม
  • ความต้องการของแม่สุกรสายพันธุ์ปัจจุบัน สามารถให้ลูกแรกคลอดได้ถึง 20 ตัว งานวิจัยได้พบว่า หลังครอกที่สอง ปริมาณซีลีเนียมในน้ำนมลดลงอย่างเป็นนัยสำคัญธาตุเหล็กลดลงร้อยละ 40 สำหรับแม่พันธุ์ที่ให้ลูกสุกรถึงท้องลำดับที่ 7 การสะสมของแมงกานีสและสังกะสีในกระดูกก็ลดลงอย่างเป็นนัยสำคัญ ทำให้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิต งานวิจัยโดยการเสริมไบโอเพล็กซ์® สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้กลับสู่สภาวะที่ดีกว่าอย่างชัดเจน
  • ปัญหาที่วงการปศุสัตว์มีการใช้แร่ธาตุอนินทรีย์สูงกว่าที่ NRC กำหนด 1.2 – 3 เท่า ได้รับการแก้ไข อย่างได้ผลหลังมีการเปลี่ยนรูปแบบการให้แร่ธาตุในรูปของอินทรีย์ สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเช่นการใช้เซล-เพล็กซ์® สามารถเพิ่มน้ำหนักหย่านมให้สูงขึ้นถึง 0.5 กิโลกรัมและ มีซีลีเนียมสะสมในเนื้อเยื่อสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราแลกเนื้อลดลงถึง 9 จุด งานวิจัยในมนุษย์ก็บ่งชี้ว่าเซล-เพล็กซ์® สามารถที่จะลดอัตราการตายของผู้ป่วยมะเร็งต่อมหมาก

มร.ออกทาวิโอ  เอ็กคาร์ต

การใช้แร่ธาตุอินทรีย์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในสุกร

  • ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ปริมาณที่เราให้ แต่อยู่ที่ปริมาณที่สัตว์สามารถย่อยและดูดซึมได้ ที่เราต้องคำนึงถึง เพราะบางครั้งยิ่งให้มาก อัตราการดูดซึมยิ่งด้อยลงไป เพราะเกิดการขัดขวางการดูดซึมระหว่างแร่ธาตุและโภชนสาร
  • การใช้แร่ธาตุอินทรีย์ร่วมกับแร่ธาตุอนินทรีย์โดยเข้าใจว่า แร่ธาตุอนินทรีย์ไม่สามารถให้แร่ธาตุที่เพียงพอแม้สามารถปรับปรุงการผลิตให้สูงขึ้น 0.5 ตัวต่อแม่ โดยการเติมไบโอเพล็กซ์® ลงในอาหารสำเร็จรูป แต่เราก็ได้พิสูจน์แล้วว่า การใช้โปรแกรมทดแทนแบบเบ็ดเสร็จ (Total Replacement Program) ของออลเทคนั้น นอกจากจะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ยังส่งผลต่อคุณภาพซากและเนื้อที่จำหน่าย
  • เราควรจะตระหนักถึงต้นทุนต่อการผลิตเนื้อมากกว่า ต้นทุนต่อการผลิตอาหาร 1 ตัน ซึ่งแม้จะดูถูกกว่า แต่ก็ทำให้เนื้อที่ผลิตมีราคาที่แพงขึ้น
  • จากการทดลองทั้งจากงานวิจัยและในฟาร์มบริษัท ไบโอเพล็กซ์® ได้พิสูจน์แล้วว่า สามารถที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตที่มีความปลอดภัยจากการปนเปื้อน และสร้างผลกำไรที่ดีกว่าแก่ผู้ประกอบการ

AQUA

มร.เฮนรี  หว่อง

โภชนะสารอาหารในการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันในสัตว์น้ำ และเทคโนโลยีของสาหร่ายในการทดแทนน้ำมันปลา

  • เราจะสามารถผลิตอาหารให้เพียงพอต่อประชากรที่เพิ่มขึ้นเป็น 9.3 พันล้านคนใน พ.ศ.2593 ได้อย่างไร ในเมื่อผลผลิตภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.6 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
  • อาหารสัตว์น้ำคิดเป็นร้อยละ 4 ของอาหารสัตว์ที่ผลิตทั่วโลก (ประมาณ 960 ล้านตัน) คาดว่าอาหารสัตว์น้ำจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 ในพ.ศ.2563 (จาก 41 ล้านตันเป็น 70 ล้านตัน)
  • อาหารทะเลเป็นแหล่งของอาหารที่มีการเจริญเติบโตสูงที่สุดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นปริมาณการบริโภคในปัจจุบันราว 130 ล้านตัน
  • ปลาเป็นแหล่งของโปรตีนของโลกถึงร้อยละ 16 แต่ปลามีแนวโน้มค่อยๆ ลดจำนวนลงซึ่งในอาหารสัตว์น้ำต้องการปลาป่น น้ำมันปลา กากถั่วเหลือง เป็นวัตถุดิบหลักในสูตร
  • ความต้องการ DHA ของโลก ประชากร 8 พันล้านคนต้องการ DHA 200 มิลลิกรัมต่อวัน (73 กรัมต่อปี) =DHA 1.6 ตันต่อวัน หรือ DHA 584 ตันต่อปี ซึ่งแหล่งของ DHA หลักๆ ได้มาจากน้ำมันปลา
  • ปัจจัยที่จำกัดการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ เช่น โรค อาหาร สิ่งแวดล้อม การเงิน การยอมรับของตลาด ส่วนปัญหาของโรคที่เกิดในสัตว์น้ำมักเกิดจากความหนาแน่นในการเลี้ยง การติดเชื้อในช่วงเพาะฟักหรือบ่อที่เลี้ยง โภชนะสารอาหารที่ไม่ดีและคุณภาพน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน

แนวทางในการแก้ไขปัญหาจากออลเทค

  • Actigen (แอคติเจน) คือแนวทางการแก้ปัญหาสุขภาพในระบบทางเดินอาหารจากธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากผนังเซลล์ของยีสต์ กลไกในการออกฤทธิ์ของแอคติเจนมี 3 แบบคือ จับและยับยั้งการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียก่อโรค การเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และการปรับปรุงโครงสร้างของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งช่วยลดอัตราการเกิดและความรุนแรงของปรสิตที่เกล็ดและเหงือกของปลา และมีส่วนในการช่วยลดการเกิดโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย
  • Algae (สาหร่าย)  หรือที่เรียกว่า All-G-Rich ของออลเทค ซึ่งเป็นสาหร่ายที่เลี้ยงในระบบปิด (Heterotrophic) มีคุณภาพที่คงที่และไม่มีการปนเปื้อน เป็นแหล่งของ DHA ที่มีคุณภาพ และสามารถทดแทนการใช้น้ำมันปลาและปลาป่นได้ในอนาคต

 

ที่มา : วารสารสาส์นไก่ & สุกร ปีที่ 14 ฉบับที่ 152 เดือนมกราคม 2559 (หน้า 55-58)

Visitors: 395,792